เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[470] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ ที่เกิด
ภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตต-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ที่เกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

12. อาเสวนปัจจัย


[471] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย
มี 9 วาระ อาวัชชนะก็ดี
วุฏฐานะก็ดี ไม่มี.

13. กัมมปัจจัย


[472] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
สัญโญชนสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
เจตนาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ
กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.